เป้าหมายและวิสัยทัศน์ >>
MALABIANG MISSION & VISION

เป้าหมายและวิสัยทัศน์

เป้าหมายโรงเรียน

  1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่โรงเรียน
    กำหนด
  2. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
  3. โรงเรียนมีกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
  4. ครูมีความรู้ ความสามารถ และจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  5. ผู้เรียนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามบริบทท้องถิ่น

พันธกิจโรงเรียน

  1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ
  2. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
  3. พัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา
  4. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  5. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปฏิบัติตนบนพื้นฐานคุณธรรมและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
    ตามวิถีท้องถิ่น

วิสัยทัศน์โรงเรียน

  • โรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข ริเริ่มสร้างสรรค์ บนฐานคุณธรรม ร่วมประสานชุมชน สู่มาตรฐานสากล

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

  • “มีวินัย อนุรักษ์ไทย”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

  • “เรียนดี มีความเป็นไทย”

แนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน
         การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ที่กำหนดอยู่ในแผนพัฒนาของโรงเรียนโดยใช้แนวคิดหลักในการบริหารจัดการ “แบบการมีส่วนร่วม”เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยใช้วงจรพัฒนาคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน  ดังนี้

  1. การวางแผน (Plan) คือ การทำงานใด ๆ ต้องมีการวางแผน เพราะจะทำให้มีความมั่นใจว่าทำงานได้สำเร็จ เช่น วางแผนการสอน วางแผนการวิจัย หัวข้อที่ใช้ในการวางแผนคือ
    – ทำทำไม
    – ทำอะไร
    – ใครทำ ทำกับกลุ่มเป้าหมายใด
    – ทำเมื่อไร
    – ทำที่ไหน
    – ทำอย่างไร
    – ใช้งบประมาณเท่าไร
  2. การปฏิบัติ (Do) เป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ เช่นทำการสอนตามแผนการสอน ปฏิบัติงานวิจัยตามแผนการวิจัย เป็นต้น
  3. การตรวจสอบ (Check) เป็นขั้นตอนของการประเมินการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ มีเรื่องอะไรปฏิบัติตามแผนได้ มีเรื่องอะไรไม่สามารถปฏิบัติตามแผนหรือปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล การตรวจสอบจะได้สิ่งที่สำเร็จตามแผน และสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
  4. การปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นขั้นตอนของการนำข้อบกพร่องมาวางแผน เพื่อปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วลงมือแก้ไข
            ในทุกกิจกรรมที่มีการดำเนินการตามวงจรการพัฒนาคุณภาพ (PDCA) จะมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการทำงานเป็นระยะๆ โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ทั้งนี้จุดเริ่มต้นสำคัญที่โรงเรียนใช้ดำเนินการคือ การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกที่ดีต่อการพัฒนาโรงเรียนแก่บุคลากรทุกคน       

โรงเรียนได้วางนโยบายในการบริหารเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ไว้ 9 ประการ

  1. ให้การศึกษาขั้นพื้นฐานกับนักเรียน ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับปรุง และพัฒนาแหล่งความรู้ เช่น ห้องสมุด สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
  3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม ให้ถึงซึ่งความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ กตัญญู มีความรับผิดชอบ การพึ่งตนเอง และความมีวินัย
  4. ส่งเสริมและพัฒนาในการสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และห้องเรียนให้สะอาดสวยงามน่าอยู่ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
  5. เสริมสร้างและปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมบริการชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน รวมทั้งจัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนดี ความประพฤติดีแต่ยากจน
  7. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์อันเป็นพื้นฐานในการสร้างความคิด และปรับตัวของนักเรียน ให้เข้ากับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
  8. เร่งรัดพัฒนาบุคลากร และแผนการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความสอดคล้องกันในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ด้านความรู้ สุขภาพอนามัย ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
  9. เร่งปรับปรุงคุณภาพสื่อการเรียนการสอน ระบบการนิเทศภายใน เพื่อให้บุคลากรสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

โครงสร้างการบริหาร

© RojanawitMalabiang School co.,ltd 2023. All Right Reserved

ช่องทางติดตาม